ThaiBMA จับตาหุ้นกู้ 84 บริษัทใหญ่-เล็ก ครบกำหนดปีนี้ 1.5 แสนล้าน

0 0
Read Time:3 Minute, 28 Second

แอปฯ “MeBond” เวอร์ชั่นใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพดูตราสารหนี้ เปิดโหลด 21 ก.ย.66

ครึ่งปี 66 บริษัทเอกชนไทยออกหุ้นกู้ลดลง พบผิดนัดชำระ 1.2 หมื่นล้านบาท

ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 ตลาดตราสารหนี้ไทยขยายตัว 5.8% จากสิ้นปี 2565 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ภาคเอกชน ขณะที่มูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ไทยสิ้นไตรมาส 3 ปี 66 มีมูลค่า 16.7 ล้านล้านบาท ขยายตัว 5.8% จากสิ้นปีที่แล้ว

โดยการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาว (หุ้นกู้) มีมูลค่า 824,557 ล้านบาท คิดเป็น 65% ของมูลค่าการออกทั้งปี 2565 ซึ่งผู้ออกภาคเอกชนที่มีอันดับเครดิตสูงยังสามารถออกและเสนอขายหุ้นกู้ได้

แต่ก็ยังมีบางบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็กบางแห่งได้เลื่อนการออกหุ้นกู้ไปก่อน เพื่อรอจังหวะตลาดและให้อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างนิ่งก่อน

สำหรับไตรมาส 4 ปี 66 มีหุ้นกู้ระยะยาวที่ครบกำหนดรวม 156,750 ล้านบาท แบ่งเป็น Investment grade มี 49 บริษัท มูลค่า 133,919 ล้านบาท และ High yield มี 35 บริษัท มูลค่า 22,830 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP) มีสัดส่วนมากที่สุด 39% ของทั้งกลุ่ม High yield หรือมูลค่า 10,348 ล้านบาท

โดยบริษัทเอกชน 10 อันดับแรกที่มีหุ้นกู้ระยะยาวครบกำหนดในไตรมาส 4 ปี 66

  1. CPALL มูลค่า 15,122 ล้านบาท
  2. TRUE มูลค่า 13,738.9 ล้านบาท
  3. SCC มูลค่า 10,000 ล้านบาท
  4. TUC มูลค่า 9,345.1 ล้านบาท
  5. ICBCTL มูลค่า 6,874 ล้านบาท
  6. MTC มูลค่า 6,655.8 ล้านบาท
  7. KKP มูลค่า 5,117.3 ล้านบาท
  8. BTSC มูลค่า 4,100 ล้านบาท
  9. SIRI มูลค่า 4,000 ล้านบาท
  10. BTSG มูลค่า 4,000 ล้านบาท

ขณะที่หุ้นกู้ที่มีปัญหา โดยเฉพาะผิดนัดชำระ (Default) มูลค่ารวม 21,843ล้านบาท มี 7 บริษัท ได้แก่ ACAP, ALL, APEX, DR, IFEC, JKN, และ STARK

ด้านกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติ (Fund flow) ขายสุทธิตราสารหนี้ไทยสะสม 1.5 แสนล้านบาท โดย ณ สิ้นไตรมาส 3 ถือครองรวม 9.4 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5.6% ของมูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งสภาวะตลาดตอนนี้ยังคงมีแรงกดดันจากภายนอกประเทศ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐอเมริกาปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าของไทย รวมถึงในด้านซัพพลายจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

ตอนนี้ความกดดันที่สำคัญมาจากสภาพตลาด อัตราผลตอบแทนของเรากับของเขาต่างกัน แล้วก็ความกดดันอันที่สองในเรื่องของซัพพลาย ถ้าหากว่าการมีความชัดเจนขึ้นของนโยบายภาครัฐ และก็ความค่อย ๆ มีความชัดเจนขึ้นถึงตัวซัพพลายจากนโยบายเหล่านั้น ก็คงเป็นความกดดันของตลาดได้ และถ้าภาวะนี้ยังอยู่ตัวความกดดันในลักษณะดังกล่าวก็อาจจะยังคงอยู่ ดร.สมจินต์ กล่าว

นอกจากนี้การประกาศแผนการออกพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ 2567 ที่เพิ่มขึ้น 0.16 ล้านล้านบาท ประกอบกับเริ่มมีความชัดเจนในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนสุดท้ายของไตรมาส 3 โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 2 ปี ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 2.54% ส่วน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 3.18%

ขณะที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชน (Corporate bond yield curve) อายุ 5 ปีของหุ้นกู้ทุกอันดับเครดิตปรับตัวสูงขึ้น ใกล้เคียงกับการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2566 อันดับเครดิต AAA ปรับตัวมาอยู่ที่ 3.48% AA ที่ 3.73% A ที่ 3.94% BBB+ ที่ 4.95% และ BBB ที่ 5.90%

ทั้งนี้ คาดว่ายอดการออกหุ้นกู้ระยะยาวทั้งปี 2566 มีโอกาสแตะที่ระดับ 1 ล้านล้านบาท สูงกว่ายอดการออกเฉลี่ยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ที่ 9.5 แสนล้านบาท

กรมอุตุฯ ประกาศเตือนฉบับที่ 2 พายุ “โคอินุ”

โปรแกรมแข่งวอลเลย์บอลหญิงไทย รอบ 4 ทีมสุดท้าย ทำศึกเอเชียนเกมส์ 2022

เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
Previous Article
Next Article