เปิดแนวทางแก้หนี้ครัวเรือน ‘แบงก์ชาติ’จ่อออกมาตรการ มีอะไรบ้าง

0 0
Read Time:4 Minute, 18 Second

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ เผยแพร่แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน หลังจากหนี้ครัวเรือนกำลังเป็นปัญหามากขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะหนี้ที่เกิดในช่วงโควิด-19 เพิ่มขึ้นมาก แม้ที่ผ่านมาจะมีมาตรการเน้นการแก้หนี้ระยะยาวแล้วก็ตาม

ดังนั้น หากไม่ทำอะไรเพิ่มเติม คาดว่าหนี้ครัวเรือนจะสูงกว่า 80% ของ GDP ที่เป็นระดับควรเฝ้าระวัง และอาจฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ สร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน และอาจลุกลามไปเป็นปัญหาสังคม ซึ่งจะยิ่งแก้ไขได้ยากขึ้น

แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนจาก “แบงก์ชาติ” น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีแนวทางแก้หนี้ปัญหาหนี้ครัวเรือนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยต้องการให้หนี้ครัวเรือนไม่เกิน 80% ต่อจีดีพี จากปัจจุบันอยู่ที่ 86.8% ในไตรมาส 3 ปี 65 และคาดว่าในปี 70 หนี้ครัวเรือนจะอยู่ที่ 84% โดยแนวทาง เช่น ทบทวนเกณฑ์เพดานดอกเบี้ยให้มีความยืดหยุ่นตามความเสี่ยงของผู้กู้ หากมีความเสี่ยงมากดอกเบี้ยจะสูงและหากความเสี่ยงต่ำดอกเบี้ยจะน้อย ซึ่งได้พูดคุยกับธนาคารและนอนแบงก์แล้ว จะให้มีทดลองดูรูปแบบการปล่อยสินเชื่อและการคิดดอกเบี้ย ก่อนจะไปหารือกระทรวงการคลังอีกครั้ง คาดว่าจะเปิดรับฟังความเห็นในกลางปี และมีผลบังคับใช้สิ้นปี 66 นี้

นอกจากนี้ ในช่วงต้นไตรมาส 2 จะเปิดรับฟังความเห็นเกณฑ์การให้สินเชื่อเท่าที่ลูกหนี้สามารถจ่ายคืนได้และมีเงินเหลือพอดำรงชีพ เช่น การโฆษณาต้องไม่ไปกระตุ้นการกู้เงินจนเป็นหนี้เกินตัว ห้ามโฆษณากระตุ้นใช้จ่ายกับคำว่าของมันต้องมี และการให้ข้อมูลครบถ้วนชัดเจน รวมทั้งการผลักดันให้เจ้าหนี้อื่นเห็นพฤติกรรมดีของลูกหนี้ เพื่อให้เกิดรีไฟแนนซ์ โดยเจ้าหนี้ในระบบทุกรายควรรายงานข้อมูลเครดิต เป็นต้น คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในไตรมาส 3 นี้

ขณะที่ข้อมูลในช่วงโควิด พบว่าลูกหนี้ก่อหนี้เพิ่มขึ้นมาก ทำให้ ธปท.จะเร่งติดตาม และให้ธนาคารปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะหนี้เสียที่เกิดจากโครงการสินเชื่อนโยบายรัฐของธนาคารรัฐ เช่น ผลักดันให้มีกฎหมายช่วยให้ลูกหนี้รายย่อยสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู หรือเข้าสู่กระบวนการขอล้มละลายตนเองด้วยความสมัครใจ ซึ่งอาจจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายล้มละลายนี้ด้วย

หนี้เสียในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคลและหนี้เกษตร มีสัดส่วนของธนาคารรัฐมากถึง 70% นอนแบงก์ 20% และธนาคารพาณิชย์ 10% ทำให้ต้องเร่งแก้ไขหนี้เสียในส่วนของแบงก์รัฐเร่งด่วน, หนี้ที่เป็นปัญหาเรื้อรัง เช่น กู้หนี้ใหม่ไปจ่ายหนี้เก่า จ่ายแต่ขั้นต่ำบัตรเครดิต กู้สหกรณ์เพิ่มตามเงินเดือนที่เพิ่มจนเกษียณ, หนี้ใหม่เพิ่มขึ้นเร็ว อาจส่งผลเสียในอนาคต ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลและหนี้เกษตร และยังมีหนี้ที่ไม่รวมหนี้ครัวเรือนเช่น หนี้ กยศ. และสินเชื่อสหกรณ์ 7 แสนล้านบาท หรือ 4.3% ของจีดีพี รวมทั้งหนี้นอกระบบ ซึ่งทั้งหมดจะต้องได้รับการแก้ไขต่อไป

“การที่หนี้ครัวเรือนเกิน 80% ต่อจีดีพีจะส่งผลเสีย เพราะเป็นระดับที่ควรเฝ้าระวัง และอาจฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ สร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน และอาจลุกลามไปเป็นปัญหาสังคมซึ่งจะแก้ไขได้ยากขึ้น แต่ความร่วมมือจะต้องเร่งแก้ไขผ่านความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เจ้าหนี้และลูกหนี้”

สำหรับแนวทางการดำเนินการสำหรับลูกหนี้กลุ่มที่ต้องเร่งแก้ไข ดังนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

1.หนี้เสียที่มีอยู่ในปัจจุบัน : เร่งรัดการปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรการแก้หนี้ระยะยาว การกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องมีบริการให้คำปรึกษาแก้หนี้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้ การสร้างตัวช่วยลูกหนี้ โดยให้มีคนกลางทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการแก้หนี้และไกล่เกลี่ยหนี้ และการผลักดันให้มีกฎหมายที่ช่วยให้ลูกหนี้รายย่อยทั่วไปที่ไปต่อไม่ไหวได้เข้ากระบวนการฟื้นฟูหรือขอล้มละลายได้ด้วยตนเอง

2.หนี้ที่เป็นปัญหาเรื้อรัง : ให้ลูกหนี้เห็นทางปิดจบหนี้ได้ โดยจะผลักดันให้มีแนวทางแก้ไขปัญหา เริ่มจากหนี้บัตรกดเงินสดที่เป็นหนี้เรื้อรังของลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง มีอายุมากและมีปัญหาทางการเงินรุนแรงก่อน

3.หนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นเร็วและอาจเป็นหนี้เสียหรือเรื้อรังในอนาคต : ธปท.จะออกเกณฑ์เพื่อให้เจ้าหนี้ปล่อยสินเชื่อด้วยความรับผิดชอบ (responsible lending) และกำหนดให้เจ้าหนี้ปล่อยสินเชื่อโดยคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายหนี้คืนและลูกหนี้ยังมีเงินเหลือพอดำรงชีพ (macroprudential policy) รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้เจ้าหนี้สินเชื่อรายย่อยคิดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้แต่ละราย (risk-based pricing) พร้อมผลักดันให้เจ้าหนี้อื่นเห็นพฤติกรรมดีของลูกหนี้ เพื่อกระตุ้นการรีไฟแนนซ์หนี้ไปยังดอกเบี้ยที่ถูกลงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

4.หนี้ที่ยังไม่อยู่ในตัวเลขหนี้ครัวเรือน อาทิ หนี้ กยศ. สินเชื่อสหกรณ์อื่น และหนี้นอกระบบ : จะมีการติดตามข้อมูลให้ครอบคลุมลูกหนี้ต่างๆ มากขึ้น และผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลต่างๆ ในการประเมินและติดตามสินเชื่อ อาทิ ข้อมูลพฤติกรรมการจ่ายเงิน เพื่อให้ลูกหนี้เข้าถึงสินเชื่อในระบบมากขึ้นและด้วยต้นทุนการกู้ยืมที่ตรงตามความเสี่ยงของตน.

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
Previous Article
Next Article