ปรากฏการณ์ "ดาวเสาร์ใกล้โลกสุดในรอบปี" คนแห่ชมคึกคัก

0 0
Read Time:2 Minute, 10 Second

ปรากฏการณ์"ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี"นับว่าเป็นอีกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจและได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก โดยเมื่อช่วงค่ำคืนวันที่ 27 สิงหาคม 2566NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติโพสต์ภาพบรรยากาศการรับชมปรากฏการณ์"ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี"ซึ่งประชาชนเข้าร่วมรับชมจำนวนมาก จากสถานที่สังเกตการณ์ทั้ง 4 จุด คืออุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่,หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.นครราชสีมา

เตรียมชมปรากฏการณ์ "ดาวเสาร์-ดวงจันทร์เต็มดวง" ใกล้โลกสุดในรอบปี คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ฮ.สหรัฐฯ ร่วงระหว่างซ้อมรบร่วม เสียชีวิต 3 สาหัส 5 เร่งหาสาเหตุต่อไป

นิด้าโพล เผย ประชาชนยังไม่เชื่อ สลายขัดแย้งการเมือง

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.ฉะเชิงเทรา, และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.สงขลา

ปรากฏการณ์ "ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี" หมายถึง

ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติระบุว่าปรากฏการณ์ "ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี" เป็นปรากฏการณ์ที่ดาวเสาร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Saturn Opposition) หมายถึง ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี โดยห่างประมาณ 1,310 ล้านกิโลเมตร

ทำให้ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวเสาร์จะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ชัดเจน สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า

ซึ่งประชาชนสามารถสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้จากหลายพื้นที่ทั่วไทย แม้จะอยู่ในช่วงมรสุม มีเมฆมาก แต่ก็มีจังหวะที่ดาวเสาร์โผล่พ้นเมฆออกมาให้รับชมและยังสามารถสังเกตเห็นช่องว่างแคสสินีระหว่างวงแหวนของดาวเสาร์ และดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ 2 ดวง ได้แก่ ไททัน และเอนเซลาดัส ได้ชัดเจน

ชมได้ยาวๆ ถึงต้นปี 67

และหลังจากนี้ ดาวเสาร์จะยังคงปรากฏให้ได้รับชมจนถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2567 หากคืนไหนมีสภาพอากาศดี ก็จะสามารถสังเกตดาวเสาร์ได้

รอดู "ซูเปอร์ฟูลมูน" (Super Full Moon)

ส่วนปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งต่อไปที่จะเกิดขึ้นคือ "ซูเปอร์ฟูลมูน" (Super Full Moon)เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี และยังเป็นดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือนซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โดยจะเริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 30 สิงหาคม 2566 จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ที่จุดสังเกตการณ์ทั้ง 4 แห่ง รวมถึงสามารถรับชมสดผ่านทางเฟซบุ๊กNARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ขอบคุณภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
Previous Article
Next Article