นักวิทย์จีนประสบความสำเร็จ โคลนลิงวอกด้วยเทคนิคใหม่

0 0
Read Time:3 Minute, 44 Second

เมื่อวันที่ 16 ม.ค. ที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ในจีนประกาศว่า พวกเขาประสบความสำเร็จในการโคลน (Clone) ลิงที่มีสุขภาพดีตัวแรกขึ้นมาได้สำเร็จ โดยโคลนดังกล่าวมีอายุ 3 ปีกว่าแล้วในปัจจุบันและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี มีชื่อว่า “เรโทร” (Retro)

เรโทรเป็นลิงวอก (Rhesus Monkey) ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสัตว์ในตระกูลไพรเมต ที่เดิมทีถือว่ามีความยากมากในการจะโคลนขึ้นมา แต่นักวิทยาศาสตร์ก็เอาชนะความล้มเหลวเดิม ๆ ด้วยการนำกระบวนการที่เคยใช้ในการสร้างแกะดอลลี (Dolly the Sheep) มาปรับ

นาซาเปิดตัว “X-59” เครื่องบินความเร็วเหนือเสียงที่ไร้เสียง

IMF คาด ปัญญาประดิษฐ์จะส่งผลกระทบต่องานทั่วโลกเกือบ 40%

นัดเดียวจอด! จีนวิจัยอาวุธพลังงานจลน์ พบทำลายรถถังสหรัฐฯ ได้ในนัดเดียว

ต้องเท้าความกันก่อนว่า การโคลนแกะดอลลีนั้นเกิดขึ้นในปี 1996 โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า “การถ่ายฝากนิวเคลียส” (SCNT) โดยการนำนิวเคลียสจากเซลล์ร่างกายของแกะตัวหนึ่งถ่ายฝากไปยังเซลล์ไข่ซึ่งถูกนำนิวเคลียสออกไปของแกะอีกตัว จากนั้นกระตุ้นเซลล์ด้วยไฟฟ้า และนำไปฝังไว้กับแกะแม่อุ้มบุญ จนในที่สุดก็เกิดเป็นดอลลี

หลังจากนั้น ก็มีการสร้างสัตว์โคลนต่าง ๆ มากกว่า 20 ชนิดโดยใช้กระบวนการ SCNT นี้ เช่น สุนัข แมว หมู วัว ม้า ฯลฯ

หลังจากการสร้างดอลลี 20 ปี ในปี 2016 นักวิจัยจากสถาบันประสาทวิทยาศาสตร์จีนในเซี่ยงไฮ้ ก็สามารถโคลนไพรเมตกลุ่มแรกได้โดยใช้ SCNT ลิงแสม 2 ตัว ชื่อฮวาฮวา (Hua Hua) และจงจง (Zhong Zhong) ซึ่งยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

แต่ เฉียง ซุน นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันประสามวิทยาศาสตร์จีน ซึ่งเป็นผู้นำวิจัยในครั้งนั้น บอกว่า อัตราความสำเร็จในการเกิดของลิงโคลนนั้นอยู่ที่ไม่ถึง 2% เท่านั้น

เขาและทีมวิจัยจึงพยายามศึกษาว่า เหตุใดความพยายามก่อนหน้านี้ในการโคลนลิงจึงล้มเหลว โดยในความพยายามก่อนหน้านี้ จากทารกในครรภ์ทั้งหมด 35 ตัว มีเพียง 1 ตัวที่เกิดมามีชีวิต แต่ก็ตายในเวลาไม่ถึง 1 วัน จึงนำมาสู่การศึกษาใหม่นี้ที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications

เฉียงกล่าวว่า ปัญหาสำคัญประการหนึ่งก็คือ “รก” ของเอ็มบริโอที่โคลนออกมามีความผิดปกติ เมื่อเทียบกับตัวอ่อนจากการปฏิสนธิตามธรรมชาติ โดยเยื่อหุ้มชั้นนอกที่สร้างรกไม่มีการพัฒนาอย่างเหมาะสม

ดังนั้น นักวิจัยจึงแทนที่เซลล์ “โทรโฟบลาสต์” (Trophoblast) หรือเซลล์ที่ต่อมาจะพัฒนาเป็นรก โดยใช้เซลล์โทรโฟบลาสต์จากเอ็มบริโอที่มีสุขภาพดีและไม่ได้โคลนนิงแทนเซลล์เดิมของเอ็มบริโอโคลน เรียกระบวนการนี้ว่า การแทนที่เซลล์สร้างรก (Trophoblast Replacement; TR)

ผลการทดลองพบว่า เซลล์โทรโฟบลาสต์ให้สารอาหารแก่เอ็มบริโอโคลนที่กำลังเติบโต และกลายเป็นรกที่ให้ออกซิเจนและสารอาหารอื่น ๆ แก่โคลนในครรภ์ ด้วยเทคนิคดังกล่าว เฉียงบอกว่า “ได้ปรับปรุงอัตราความสำเร็จของการโคลนโดย SCNT ได้อย่างมาก และนำไปสู่การกำเนิดของเรโทร”

เรโทรลืมตาดูโลกในวันที่ 16 ก.ค. 2020 ทำให้ปัจจุบันมีอายุ 3 ปีครึ่งแล้ว

ทีมวิจัยหวังว่า เทคนิคใหม่นี้จะนำไปสู่การสร้างลิงโคลนในลักษณะเดียวกันนี้ ซึ่งสามารถทดลองเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ได้

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยภายนอกเตือนว่า อัตราความสำเร็จสำหรับวิธีการใหม่ยังคงต่ำมาก เช่นเดียวกับคำถามด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการโคลน

ลู่ ฝ่าหลง จากห้องปฏิบัติการหลักของรัฐด้านชีววิทยาพัฒนาการระดับโมเลกุลและสถาบันพันธุศาสตร์และชีววิทยาพัฒนาการ ของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “เราได้บรรลุความสำเร็จในการโคลนลิงที่มีชีวิตและมีสุขภาพดีด้วยเทคนิคนี้ได้เป็นตัวแรก ซึ่งเป็นก้าวสำคัญ แม้ว่าประสิทธิภาพจะยังคงต่ำมากเมื่อเทียบกับเอ็มบริโอที่เกิดจากการปฏิสนธิตามปกติก็ตาม … ปัจจุบันเรายังไม่มีลิงตัวที่สองที่เกิดขึ้นจากวิธีการนี้”

เขาเสริมว่า “เราคิดว่าอาจมีความผิดปกติที่ต้องได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จของการใช้เทคนิค SCNT ในไพรเมต นั่นคือเป้าหมายหลักของเราในอนาคต”

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่คำพูดจาก สล็อตออนไลน์

เรียบเรียงจาก CNA / CNN

เปิดสถิติหวยออกงวดวันที่ 17 มกราคม หวยวันครู ย้อนหลัง 15 ปี

วันหยุดกุมภาพันธ์ 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ ตรงกับวันไหนบ้าง

ประกาศฉบับสุดท้าย เตือนภาคเหนือ 4 จังหวัด รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
Previous Article
Next Article